ยินดีต้อนรับ..สู่"การสร้างมารยาทที่ดีสำหรับครู"
"มารยาทไทย” หมายถึง กิริยา วาจาที่สุภาพเรียบร้อยที่บุคคลพึงปฏิบัติในสังคม โดยมีระเบียบแบบแผนอันเหมาะสมตามกาลเทศะ”
- มารยาทไทยครอบคลุมถึงกิริยา วาจาต่างๆ เช่น การแสดงความเคารพ การส่งและรับสิ่งของ การยืน การเดิน การนั่ง การนอน การแสดงกิริยาอาการ การรับประทานอาหารการให้และการรับบริจาค การทักทาย การสนทนา การใช้คำพูด การฟัง การใช้เครื่องมือสื่อสาร รวมทั้งการประพฤติปฏิบัติในพิธีการต่างๆ
"การส่งและรับสิ่งของ"(ดูแบบอย่าง)
- การส่งสิ่งของให้ผู้ใหญ่และการรับสิ่งของจากผู้ใหญ่
สิ่งของที่จะส่งหรือรับมี ๒ ลักษณะ คือ สิ่งของหนักและสิ่งของเบา สิ่งของหนักให้ถือสองมือ สิ่งของเบาให้ถือมือเดียว โดยถือด้วยมือขวา มือซ้ายแยกลำตัว สิ่งของที่จะส่งหรือรับควรถือตามขวาง ถ้าเป็นสมุดหรือหนังสือ ควรหันทางสันไปทางผู้รับ - การส่งและรับสิ่งของอย่างเป็นพิธีการ คำว่า“ พิธีการ ” ในที่นี้ การกระทำที่เป็นพิธี มีกำหนดและมีระเบียบปฏิบัติ ซึ่งอาจไม่เหมือนกับวิธีปฏิบัติที่เป็นส่วนตัว ๑)การส่งสิ่งของขณะผู้ใหญ่ยืน ...ชาย ถือสิ่งของเดินเท้าเข้าไปห่างจากผู้ใหญ่พอประมาณ ยืนตรงคำนับ ก้าวเท้าขวาไปข้างหน้าพร้อมกับค้อมตัวเล็กน้อย ส่งสิ่งของ และถอยเท้าขวากลับ ยืนตรงคำนับหนึ่งครั้ง ถอยพอประมาณจึงหันหลังกลับ / อีกแบบหนึ่ง ถือสิ่งของเดินเข้าไปพอประมาณ หยุดยืนตรง ก้าวเท้าขวาไปข้างหน้า พร้อมกับค้อมตัวเล็กน้อย ส่งสิ่งของแล้วถอยเท้าขวากลับ แสดงความเคารพด้วยการไหว้หนึ่งครั้ง แล้วถอยพอประมาณหันหลังกลับ...หญิง ถือสิ่งของเดินเข้าไปห่างจากผู้ใหญ่พอประมาณ ยืนตรง ก้าวเท้าขวาไปข้างหน้าพร้อมกับย่อตัวเล็กน้อย ส่งสิ่งของ ไหว้ในขณะที่ย่อตัวอยู่แล้วถอยเท้าขวากลับ ยืนตรง ถอยพอประมาณ จึงหันหลังกลับ ในกรณีที่ใช้พานส่งสิ่งของ ให้จับคอพานทั้งสองมือเดินเข้าไประยะพอประมาณทำความเคารพ (ชาย คำนับ หญิง ค้อมศีรษะเล็กน้อย) ยกพานส่งสิ่งของให้ เมื่อผู้ใหญ่รับสิ่งของไปแล้ว ลดพานลงถือในลักษณะเดิมชายและหญิงทำความเคารพถอยพอประมาณ จึงหันกลับ (คลิ๊ก)
ดูวิธีการ : การส่งและการรับสิ่งของ
►"การส่งสิ่งของให้ผู้ใหญ่และการรับสิ่งของจากผู้ใหญ่/การส่งและรับสิ่งของอย่างเป็นพิธีการ "
มารยาทในการยืน
๑. การยืนเคารพธงชาติ ๒. การยืนถวายความเคารพสมเด็จพระสังฆราช ๓. การยืนถวายความเคารพพระมหากษัตริย์ และ พระบรมวงศ์ ๔. การยืนในพิธีต่างๆ ๕. การยืนที่ไม่เป็นพิธี
การยืนเคารพธงชาติ เพลงชาติ หรือธงชัยเฉลิมพลในที่สาธารณะ ให้ยืนตรงแสดงคารวะโดยหันหน้าไปทางธงชาติ เมื่อเพลงจบให้ค้อมศีรษะคำนับ และสำหรับบุคคลทั่วไปเมื่อจะผ่านธงชัยเฉลิมพลให้หยุด และยืนแสดงคารวะ หรือเมื่อมีการเชิญธงชัยเฉลิมพลผ่านก็ให้ยืนตรงแสดงความเคารพเช่นเดียวกัน
การยืนถวายความเคารพสมเด็จพระสังฆราช
๑. เมื่อสมเด็จพระสังฆราชเสด็จมาถึงมณฑลพระราชพิธีก่อน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือ พระบรมวงศานุวงศ์ ผู้ที่มาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทอยู่ ณ ที่นั้น ถวายความเคารพโดยการยืนประนมมือไหว้ เมื่อเสด็จผ่านแล้วจึงนั่งลง
๒. ในกรณีที่สมเด็จพระสังฆราชเสด็จมาถึงภายหลัง ให้ถวายความเคารพโดยวิธีนั่งประนมมือไหว้
ๆ
มารยาทในการเดิน (ดูแบบอย่าง)
๑ . การเดินในกรณีที่เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์
๒. การเดินในพิธีทางศาสนา
๓. การเดินในพิธีต่างๆ
๔. การเดินผ่านผู้ใหญ่
๕ . การเดินนำหรือเดินตามผู้ใหญ่
๖. การเดินโดยทั่วไป
- การเดินเข้า – ออกระหว่างการประชุม โดยมารยาททั่วไป ผู้ที่มีความจำเป็นต้องเดินเข้าหรือออกระหว่างที่กำลังมีการประชุม ควรแสดงความเคารพ ประธานของที่ประชุมทุกครั้งด้วยการไหว้หรือคำนับเมื่อลุกจากที่นั่ง และเมื่อเข้าสู่ที่ประชุม
การเดินผ่านผู้ใหญ่การเดินผ่านผู้ใหญ่ ขณะที่ผ่านผู้ใหญ่ไม่ควรเดินลงส้น หรือ มีเสียงดัง และต้องผ่านในระยะห่างพอสมควร- ขณะผู้ใหญ่ยืน ทั้งชายและหญิงให้เดินผ่านในลักษณะสำรวม ปล่อยมือไว้ข้างตัวและค้อมตัวเมื่อใกล้ถึงผู้ใหญ่ (คลิ๊กดูการเดินผ่านผู้ใหญ่)
การเดินในพิธีต่างๆ - การเดินตามศพเวียนเมรุ ให้เดินในลักษณะสำรวม เดินเวียนซ้าย ๓ รอบ โดยให้เมรุอยู่ทางซ้ายของผู้เดิน - การเดินขึ้นและลงเมรุเผาศพ ให้เดินเรียงแถวตามลำดับอย่างมีระเบียบ ไม่แย่งกันชึ้นหรือลงรวมทั้งไม่แย่งกันรับของที่ระลึก - การเดินในขบวนแห่ ได้แก่ขบวนแห่ในพิธีต่างๆ เช่น แห่องค์กฐิน แห่เทียนพรรษา และแห่พระศพ ฯลฯ ให้เดินอย่างมีระเบียบและถูกต้องตาม กฎจราจร
มารยาทในการนั่ง (ดูแบบอย่าง)
๑. การนั่งพับเพียบ
๒. การนั่งขัดสมาธิ
๓. การนั่งหมอบ
๔. การนั่งคุกเข่า
๕. การนั่งเก้าอี้
๖. การนั่งเล่นหรือนั่งพักผ่อน (คลิ๊กอ่านข้อมูลการนั่งเพิ่มเติม)
การนั่งพับเพียบ
การนั่งพับเพียบ คือการนั่งราบกับพื้น พับขา ให้ขาขวา ทับขาซ้าย หรือขาซ้ายทับขาขวา อาจแบ่งออกได้เป็น ๔ อย่าง ดังต่อไปนี้
การนั่งพับเพียบธรรมดา คือ การนั่งพับเพียบวางมือไว้บนหน้าขา หรือเอามือท้าวพื้นก็ได้ โดยให้ปลายนิ้วมือเหยียดไปข้างหน้า ถ้านั่งขาขวาทับขาซ้ายให้ใช้มือซ้ายท้าวพื้น ถ้านั่งขาซ้ายทับขาขวาให้ใช้มือขวาท้าวพื้นอย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วแต่สะดวกและเหมะสม ลักษณะนี้ใช้ในการนั่งสนทนากับเพื่อนหรือนั่งอยู่ตามลำพัง
การนั่งพับเพียบต่อหน้าผู้ใหญ่ อาจนั่งท่าใดท่าหนึ่งตามความเหมาะสม แต่ไม่ควรท้าวแขน สายตาทอดลงเล็กน้อย และไม่จ้องตาผู้ใหญ่จนเสียกิริยา การนั่งลักษณะนี้ใช้ได้ทั้งชายและหญิง คือ
- นั่งพับเพียบ ตัวตรง เก็บปลายเท้าโดยเบนปลายเท้าเข้าหาสะโพก มือทั้งสองข้างประสานกันวางไว้บนหน้าขา ถ้านั่งพับเพียบขาขวาทับขาซ้าย วางมือที่ประสานบนหน้าขาซ้าย ถ้านั่งพับเพียบขาซ้ายทับขาขวาวางมือที่ประสานบนหน้าขาขวา หรือบริเวณหน้าขาจุดใดจุดหนึ่งที่เหมาะสมและสวยงาม
- วิธีประสานมือ ให้ปฏิบัติในอาการที่สำรวม อาจใช้อย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้- ใช้มือซ้ายหงาย มือขวาคว่ำทับ หรือมือขวาหงายมือซ้ายคว่ำทับ- ใช้มือทั้งสองคว่ำทับกัน จะเป็นมือใดทับมือใดก็ได้- สอดนิ้วระหว่างช่องนิ้วของแต่ละมือ คล้ายการประนมมืออย่างหลวมๆ
- อ่านข้อมูลเพิ่มเติม (มารยาทในการนอน)"มารยาทไทยในการนอน"